อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ที่จะนำไปติดตั้งใช้งานในระบบไฟฟ้าไว้ดังนี้
1. สายไฟฟ้า
1.1 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน
– สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน พีวีซี เป็นไปตาม มอก.11-2553
– สายไฟฟ้าอลูมิเนียมหุ้มฉนวน พีวีซี เป็นไปตาม มอก.293-2541
– สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนครอสลิงกด์พอลิเอทิลีน เป็นไปตาม IEC 60502 หรือ มาตรฐานที่กำหนดไว้
1.2 สายไฟฟ้าเปลือย
– สายไฟฟ้าทองแดงรีกแข็ง สำหรับสายไฟฟ้าเหนือดิน เป็นไปตาม มอก.64-2517
– สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย เป็นไปตาม มอก. 85-2548
– สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือยแกนเหล็ก เป็นไปตาม มอก.85-2548
2. ตัวนำไฟฟ้า
2.1 บัสบาร์ทองแดง ต้องมีความบริสุทธิ์ของทองแดงไม่น้อยกว่าร้อยละ 98
2.2 บัสบาร์อะลูมิเนียม (Aluminum Bus Bar) ต้องมีความบริสุทธิ์ของอะลูมิเนียมไม่น้อยกว่าร้อยละ 98
2.3 บัสเวย์ (Busway) หรือบัสดัก (Bus Duct) ต้องเป็นชนิดที่ประกอบสำเร็จรูปจากบริษัทผู้ผลิตและได้มีการทดสอบแล้วตามมาตรฐาน
3. เครื่องป้องกันกระแสเกิน และสวิตช์ตัดตอน
3.1 ตัวฟิวส์และขั้วรับฟิวส์ เป็นไปตาม มอก.506-2527 และ มอก.507-2527
3.2 สวิตช์ที่ทำงานด้วยมือ เป็นไปตาม มอก.824-2531 (บังคับ 18 พ.ย. 2551)
3.3 สวิตช์ใบมีด เป็นไปตาม มอก.706-2530
3.4 อุปกรณ์ตัดตอนและเครื่องป้องกันกระแสเกิน เป็นไปตาม มาตรฐานที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ เช่น UL,BS.DIN,JIS และ IEC
3.5 ฟิวส์และขั้วรับฟิวส์ (Fuse and Fuse Holder) พิกัดกระแสของฟิวส์ต้อวไม่สูงกว่าของขั้วรับฟิวส์ ทำจากวัสดุที่เหมาะสม มีการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการผุกร่อน (Corrosion) เนื่องจากการใช้โลหะต่างชนิดกันระหว่างฟิวส์กับขั้วรับฟิวส์ และต้องมีเครื่องหมายแสดงพิกัดแรงดันและกระแสให้เห็นได้อย่างชัดเจน
3.6 สวิตช์ที่ทำงานด้วยมือ เป็นไปตาม มอก.824-2531
3.7 เครื่องป้องกันกนะแสเกิน และ สวิตช์ตัดตอน
– เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker (CB)) เป็นแบบปลดได้โดยอิสระ (trip free) และต้องปลดสับได้ด้วยมือ ถึงแม้ว่าปกติการปลดสับจะทำโดยวิธีอื่นก็ตาม
– มีเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจนว่าอยู่ในตำแหน่งสับหรือปลด
– ถ้าเป็นแบบปรับตั้งได้ต้องเป็นแบบการปรับตั้งค่ากระแสหรือเวลา โดยขณะใช้งานกระทำได้เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
– มีเครื่องหมายแสดงพิกัดของแรงดัน กระแส และความสามารถในการตัดกระแสที่เห็นได้ชัดเจนและถาวรหลังจากติดตั้งแล้ว หรือเห็นได้เมื่อเปิดแผ่นกั้นหรือฝาครอบ
– CB สำหรับระบบแรงต่ำให้เป็นไปตามมาตรฐานดังนี้
– CB ที่ใช้ในสถานที่อยูาอาศัยหรือสถานที่คล้ายคลึงกัน พิกัดไม่เกิน 125 แอมแปร์ เป็นไปตามมาตรฐาน IEC 60898 กรณีพิกัดกระแสเกิน 125 แอมแปร์ เป็นไปตาม IEC 60947-2
– CB ที่ใช้ในสถานที่อื่นๆ เป็นไปตาม IEC 60947-2 หรือ IEC 60898